หน้าแรก ข่าวอุตสาหกรรม สศค.คาดอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค อยู่ในเกณฑ์ดี หลังได้อนิสงค์จ้างงาน-อุตสาหกรรม

สศค.คาดอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค อยู่ในเกณฑ์ดี หลังได้อนิสงค์จ้างงาน-อุตสาหกรรม

2189
0

“ดัชนี RSI เดือนพฤศจิกายน 2561 ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวดีทั่วทุกภูมิภาค นำโดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคการจ้างงานและอุตสาหกรรม”

นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานดัชนี ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 ว่า “การประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุด จากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทุกภูมิภาค นำโดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการจ้างงานและภาคอุตสาหกรรม เป็นสำคัญ”

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนือ มีทิศทางการขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ระดับ 77.5 โดยเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า จะได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการภายในภูมิภาค เนื่องจากคาดว่าจะมีโรงงานขนาดใหญ่ประกอบกิจการเพิ่มขึ้น และมีการส่งเสริมทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่ออกสู่ตลาด ประกอบกับการขยายตัวภาคธุรกิจการท่องเที่ยว จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว และการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มการเติบโตอยู่ที่ 73.0

โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเป็นหลัก ในส่วนของธุรกิจภาคบริการ มีสัญญาณขยายตัวดี เป็นผลจากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐ และเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับนโยบายของภาครัฐที่มีมาตรการชดเชยเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อลดค่าครองชีพในครัวเรือน และกระตุ้นการใช้จ่ายของเศรษฐกิจฐานราก ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม มีแนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นมากขึ้น อีกทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันตกยังอยู่ที่เกณฑ์ดีที่ระดับ 69.9 โดยจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการเป็นหลัก ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวตามแนวโน้มของเศรษฐกิจภูมิภาค และมีแรงขับเคลื่อนการลงทุนภาครัฐ และการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน ในส่วนของการบริการ คาดว่าเริ่มเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว จะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐและภาคเอกชนจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดว่าภาคบริการจะขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง ยังอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 69.6 เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มที่ดีของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ

โดยสำหรับภาคอุตสาหกรรม คาดว่าอุตสาหกรรมในครัวเรือนจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อทั้งภายในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคบริการได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการมีกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและอยู่ในช่วงฤดูหนาว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ในทิศทางบวกที่ระดับ 69.2 เนื่องจากแนวโน้มที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ในส่วนของภาคบริการ มีการสนับสนุนจากทางภาครัฐ กระตุ้นและส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวภายในจังหวัดเพิ่มขั้น ส่วนในภาคอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกเริ่มมีความชัดเจน ประกอบกับการกำหนดให้มีการเลือกตั้งของรัฐบาล ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจ น

อกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ ยังคงขยายตัวอยู่ที่ 68.6 จากแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ดี เนื่องจากบริษัทเอกชนภาคบริการเริ่มมีการตื่นตัวในพัฒนา และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในพื้นที่ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ปี 2562 มากขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมห้องพัก และบริษัทนำเที่ยว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล อยู่ที่ระดับ 61.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากดัชนีแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ 70.0

ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2561 (ณ เดือนพฤศจิกายน 2561)

กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก
ภาพรวม ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 61.0 69.2 73.0 62.7 69.6 77.5 69.9 ดัชนีแนวโน้มรายภาค

1) ภาคเกษตร 63.9 58.6 67.8 51.1 62.0 75.3 64.2
2) ภาคอุตสาหกรรม 70.0 86.6 78.5 62.4 69.9 76.8 76.8
3) ภาคบริการ 41.5 69.1 84.2 73.7 80.2 83.4 76.4
4) ภาคการจ้างงาน 72.9 62.6 63.7 58.6 67.1 68.0 62.3
5) ภาคการลงทุน 58.2 69.1 70.9 58.3 67.6 73.2 69.8

 

ข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ