หน้าแรก ข่าวอุตสาหกรรม มารู้จัก NB-IoT กันและถ้าเปรียบเทียบกับ LoRa ละ

มารู้จัก NB-IoT กันและถ้าเปรียบเทียบกับ LoRa ละ

3415
0

เห็นข่าวที่ AIS ได้เปิดตัว NB-IoT Network เจ้าแรกใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
หลายๆ คนคงมีคำถามขึ้นมาทันทีว่า NB-IoT คืออะไร และถ้ามันเทียบกับ LoRa ละ

NB-IoT ( Narrow Band IoT ) ถูกออกแบบโดย 3GPP ที่มีหน้าที่กำหนดสเปคทางด้านการสื่อสาร 3G, 4G/LTE ทุกวันนี้ ถูกประกาศมาครั้งแรกประมาณ กุมภาพันธ์ 2015 โดยออกมาพร้อมกับ Release 13 ของมาตรฐาน 3GPP

จุดมุ่งหมายของ NB-IoT คือการที่อุปกรณ์ประเภท Low data rate ต้องการใช้เครือข่ายเดียวกันกับเครือข่ายเซลลูลาร์ได้ และจำเป็นจะต้องใช้พลังงานน้อย

โดยตัว NB-IoT ถูกออกแบบมาโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

  • Long battery Life : 10 ปี เมื่อใช้กับแบตเตอรี่ 5 Watt hours
  • ฮาร์ดแวร์มีราคาถูกเห็นเป้าตั้งไว้ที่ต่ำกว่า 5$
  • 1 Cell site รองรับได้ประมาณ 50,000 โหนด
  • ระยะการสื่อสารไกลมาก อาจจะได้ถึง 10Km จากตัวอุปกรณ์ถึง Cell site ที่ใกล้ที่สุด

ก็ให้นึกถึงภาพ Wireless sensor ที่เราจะใช้งานสามารถต่อไปที่เครือข่ายได้คล้ายๆ กับ 3G, 4G/LTE ส่งข้อมูลได้ช้าลง แต่แบตเตอรี่อยู่ได้นานขึ้นมากก ระยะในการส่งข้อมูลไกลมากๆ

โหมดในการทำงานของ NB-IoT จะมีทั้งหมด 3 โหมดด้วยกันได้แก่

https://www.link-labs.com/blog/nb-iot-vs-lora-vs-sigfox

Stand alone : แยกคลื่นความถี่ออกมาโดยไม่ได้ใช้ผ่าน LTE อาจจะต้องหาคลื่นความถี่ใดความถี่หนึงมาให้ใช้ โหมดนี้จะว่าคล้ายๆ Wireless sensor ทั่วๆ ไปก็ได้คิดว่าโหมดนี้ไม่น่าได้ใช้กันครับ

Guard band : ปกติเทคโนโลยีอย่าง LTE จะมีการแบ่งสัญญาณช่องความถี่ออกจากกันเพื่อให้แต่ละช่องสัญญาณไม่กวนกันโดยใช้วิธีที่เรียกกว่า Guard band 
NB-IoT ในโหมดนี้ก็จะวิ่งเข้าไปในส่วนนี้แหละครับ ใช้ช่องว่างที่ไม่ได้ใช้งานให้ NB-IoT ทำงาน

In-band : วิ่งเข้าไปในคลื่นความถี่ LTE ปกตินั่นแหละ

ทีนี้จะใช้โหมดไหนก็น่าจะต้องอยู่กับผู้ให้บริการด้วยครับ เพราะจุดสำคัญอยู่ที่ตัว Cell site หรือ Base station ที่รองรับอุปกรณ์ด้วย

ฮาร์ดแวร์ที่รองรับตอนนี้

ตอนนี้มีผู้ให้บริการเตรียมเปิดตัวในไทยแล้ว สำหรับนักพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ก็น่าจะเตรียมหาฮาร์ดแวร์มาทดลองเล่นได้ ซึ่งผู้ผลิตโมดูลเช่น Quectel, U-blox, Huawei ต่างก็มี Solutions ซัพพอร์ตไว้หมดแล้ว ในไทยคาดว่าเร็วๆ นี้คงหาซื้อได้ไม่ยากครับ

เอาไปทำระบบอะไรได้บ้าง ?

กว้างมากครับ แต่งานที่ถูกพูดคุยกันมานานเทคโนโลยีนี้จะตอบโจทย์ได้ดีขึ้นเช่น

Smart metering : ไม่ว่าจะเป็น มิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟ มิเตอร์แก็ส เป็นต้น

Smart Cities : ระบบแสง ระบบจัดการขยะ ระบบที่จอดรถ

Consumers : wearable ทั้งหลายอุปกรณ์เพื่อสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ หรือระบบตรวจสัตว์เลี้ยงหาย ของหาย หรือแม้แต่แฟนหายแอบทำเป็นพวงกุญแจไปใส่ในกระเป๋าได้เลย

แล้วถ้าเทียบกับ LoRaWan ละ ?

คำถามยอดฮิตแน่นอน เมื่อมันคล้ายกันพอสมควรในเรื่องของสถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อ จุดประสงค์ของเทคโนโลยี และแนวทางในการใช้งาน เพราะทั้งคู่ประหยัดพลังงานเหมือนกัน ส่งได้ไกลเหมือนกันอีก

จุดเด่นของ LoRaWan เมื่อเทียบกับ NB-IoT

ข้อแตกต่างสำคัญคือ LoRaWan จะใช้คลื่นความถี่ตามที่แต่ละประเทศอณุญาติซึ่งส่วนใหญ่ใช้ได้ฟรี

ทำให้การจัดตั้ง Cell site หรือระบบสามารถทำเองได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ แต่การใช้งานบางส่วนของระบบถ้าต้องการความน่าเชื่อถือและไม่ต้องการทำระบบจัดการหลังบ้านเอง การเลือกใช้ผู้ให้บริการถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีี

ในประเทศไทยคลื่นความถี่ที่สามารถใช้ LoRA ได้อยู่ที่ 920–925 MHz

จุดเด่นจุดด้อยของ LoRaWan เมื่อเทียบกับ NB-IoT

LoRaWan ตัว Base station จำเป็นจะต้องลงฮาร์ดแวร์เกตเวย์ใหม่์ตามจุดต่างๆ เพื่อเริ่มต้นใช้งาน

ซึ่งทาง NB-IoT น่าจะเปิดใช้งานพร้อมได้เร็วกว่าเนื่องจากฮาร์ดแวร์สามารถใช้ Cell site ของโทรศัพท์มือถือได้

แต่ในเรื่องความหยืดหยุ่นในการออกแบบระบบดููเหมือน LoRaWan จะได้เปรียบกว่าตรงที่สามารถผสมผสานระหว่าง private network และผ่านทาง operator ได้

ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดตัวผู้ให้บริการที่เพียบพร้อมแบบนี้ ถ้ามีการเริ่มต้นใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อไร ผมจะมาเขียนถึงกันอีกรอบครับ