แท็ก: อุตสาหกรรม
เศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมไทย: แนวทางการสร้างความยั่งยืน
เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจอย่างมากในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย หลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนคือการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการสูญเสียและของเสียให้น้อยที่สุด ผ่านการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรใหม่และการรีไซเคิล ในบทความนี้จะนำเสนอแนวทางการนำเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในอุตสาหกรรมไทยเพื่อสร้างความยั่งยืน
1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกุญแจสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งรวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน และการออกแบบให้สามารถแยกส่วนประกอบเพื่อรีไซเคิลได้ง่าย
2. การปรับปรุงกระบวนการผลิต
การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อให้ใช้ทรัพยากรน้อยลงและเกิดของเสียน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อควบคุมและลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต หรือการใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
3....
AI กับอุตสาหกรรมไทย ในปี 2024
การพัฒนาของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ อุตสาหกรรมทั่วโลก และประเทศไทยก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น AI ได้รับการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ
การนำ AI มาใช้ในอุตสาหกรรมไทย
การผลิต AI ถูกใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มความแม่นยำและลดความผิดพลาด ตัวอย่างเช่น การใช้หุ่นยนต์ในการประกอบชิ้นส่วน การตรวจสอบคุณภาพด้วยระบบภาพที่ขับเคลื่อนด้วย AI
การเกษตร AI ช่วยเกษตรกรในการวิเคราะห์ข้อมูลการเก็บเกี่ยว พยากรณ์สภาพอากาศ และการจัดการฟาร์มอย่างแม่นยำ...
การเลือกใช้ SCADA ในระบบโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบควบคุมและการเก็บข้อมูลแบบกระจาย (SCADA: Supervisory Control and Data Acquisition) เป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ด้วยความสามารถในการควบคุมและตรวจสอบกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ SCADA ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการดำเนินงาน บทความนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของการเลือกใช้ SCADA ในระบบโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้ระบบนี้
ความสำคัญของ SCADA ในโรงงานอุตสาหกรรม
1. การควบคุมและตรวจสอบแบบเรียลไทม์ SCADA ช่วยให้ผู้ควบคุมสามารถติดตามและควบคุมกระบวนการผลิตได้แบบเรียลไทม์ ผ่านการเก็บข้อมูลจากเซนเซอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที
2. การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์...
‘ค่าเงินบาท-เทรดวอร์’ ทุบส่งออกไทย ปี 2562 ติดลบ 2.65% ต่ำสุดรอบ 4 ปี
นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม มีมูลค่า 19,154 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 1.28% การนำเข้ามีมูลค่า 18,558 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเป็นบวกที่ 2.54% และได้ดุลการค้า 595 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกของไทยทั้งปี 2562 มีมูลค่า 246,244...
เกษตรฯ เข้มเผาตอซัง-กรมชลฯวอนประหยัดน้ำชี้อ่างใหญ่เหลือแค่ 1.8พัน ล้านลบ.ม.
นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า การรณรงค์หยุดเผาตอซัง กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าเกษตรกรให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกว่า 80% และหันมาวิธีการไถกลบแทน แต่ในปีนี้เนื่องจากภัยแล้งมีความรุนแรง พื้นที่นาแห้งและแข็งอย่างรวดเร็ว การไถกลบไม่สามารถทำได้ เกษตรกรจึงใช้วิธีการเผาทำลาย ทำให้ผลการรณรงค์การลดเผาตอซัง ขณะนี้ทำได้ประมาณ 70-75% สำหรับ มลพิษที่เกิดการเผาทำลายตอซังดังกล่าว เป็นฝุ่นควันขนาดใหญ่ หรือพีเอ็ม 10 และภาคการเกษตรมีส่วนสร้างมลพิษที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพฯเพียง 5%...
ธุรกิจท่องเที่ยวไทยร่วงหนัก ทุบดัชนีเชื่อมั่นผู้ประกอบการทุกเซ็กเตอร์
ผลประกอบการท่องเที่ยวปี’62 ร่วงหนัก ทุบตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นท่องเที่ยวไทย สทท.เผยผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทุกภูมิภาคประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าภาวะปกติ ทุกเซ็กเตอร์หลัก คาดดัชนีเชื่อมั่นท่องเที่ยวไทยไตรมาสแรกปีนี้ยังทรุดต่อเนื่อง
นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยยังอยู่ในภาวะที่ยังเติบโตได้ โดยคาดว่าในปี 2563 นี้ประเทศไทยจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมประมาณ 40.7 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 2.73% และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 2.05 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
โดยขณะนี้ทุกภาคส่วนด้านการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการระดมสมองเพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้...
กลยุทธ์ปรับตัวองค์กรเข้าสู่ยุค 4.0
นโยบายหลักของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดล ไทยแลนด์ 4.0 ถือเป็นการปรับตัวแบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่ที่ภาครัฐต้องการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก จากการเป็นประเทศที่ใช้แรงงานและพึ่งพาอุตสาหกรรมการส่งออกเป็นหลัก ไปสู่ประเทศที่มีความโดดเด่นด้วยเศรษฐกิจที่ต่อยอดจากความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
วิวัฒนาการของโลกจากยุค 1.0 ถึง 4.0
ตั้งแต่ 1.0 2.0 มาจนถึง 4.0 ในปัจจุบัน โลกนับจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น โดยโลกของเราผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้ว 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 หรือยุค 1.0 คือสมัยที่โลกค้นพบเครื่องจักรแรงดันไอน้ำและถือเป็นนวัตกรรมแห่งยุคที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และได้กลายเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมหนักในเวลาต่อมา
ครั้งที่ 2 หรือยุค...
กกพ. ตรึงค่าไฟ Q1/63 รื้อยุทธศาสตร์ 4 ปี รับพลังงานสะอาด
เทรนด์การใช้พลังงานเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานทดแทนในรูปแบบของพลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะผู้ทำหน้าที่ “เรกูเลเตอร์” กิจการไฟฟ้าประเทศ จึงได้ปรับบทบาทองค์กร ชูแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พร้อมกับเร่งพัฒนาระบบกิจการพลังงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
อัดงบฯ 5 ปี 5,000 ล้านบาท
นายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) กล่าวว่า กกพ.เตรียมงบประมาณพัฒนายุทธศาสตร์ 5 ปี (ปี 2563-2567) วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามกลยุทธ์พัฒนาระบบการกำกับให้ผู้ประกอบการใช้ทรัพยากรในการประกอบกิจการพลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ...
ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภครูดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ต่ำสุดในรอบ 67 เดือน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 อยู่ในระดับ 69.1 ประชาชนยังห่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและกระจุกตัว โอกาสหางานทำ รวมถึงรายได้ในอนาคต
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน 2562 จากกลุ่มตัวอย่าง 2,242 คน พบว่า อยู่ที่ระดับ 69.1 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ตั้งแต่เดือนมียาคม 2562 ที่ผ่านมาที่อย่ระดับ...
การจ้างงานปี 63 น่าเป็นห่วง ปัจจัยกดดันเพียบ หวั่นบัณฑิต 3.4 แสนคนตกงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยบทวิเคราะห์เรื่องสถานการณ์การจ้างงานไทย โดยฝ่ายวิจัยคาดว่าสถานการณ์การจ้างงานในปี 63 จะย่ำแย่ลงกว่าปีนี้ เป็นผลจากปัจจัย ดังนี้
1.แนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงขาลง โดยการค้าโลกที่ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ขณะที่สต๊อกสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง จะเป็นปัจจัยกดดันภาคการผลิตไปอีกอย่างน้อยครึ่งแรกของปีหน้า
2.ผลกระทบต่อแรงงานในรอบนี้เกิดขึ้นในวงกว้างทำให้การลดลงของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม ไม่สามารถถูกชดเชยได้ด้วยการเพิ่มการจ้างงานในภาคเกษตรและภาคบริการเหมือนในอดีต
3.ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อตลาดแรงงานมากขึ้น ทั้งการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานทักษะสูง ที่ตลาด แรงงานไทยยังประสบปัญหาทักษะไม่ตรงกับความสามารถของตลาด รวมทั้งระบบการศึกษาที่ขาดการพัฒนาทักษะแห่ง อนาคตให้กับแรงงานรุ่นใหม่ เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของภาคธุรกิจ ขณะที่มีการทดแทนแรงงานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการผลิตในประเทศที่ถูกทดแทนด้วยสินค้าจากต่างประเทศ ผ่านการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาทที่ส่งผลกระทบต่อทั้งรายรับของผู้ประกอบการและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ฝ่ายวิจัยระบุว่า...