แท็ก: อุตสาหกรรม
ก.อุตเร่งเครื่องหนุน SME เบิกจ่ายกองทุนโค้งท้าย
อุตฯเร่งอนุมัติเบิกจ่ายเงิน “กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐ 20,000 ล้านบาท” ที่เหลือ 4,300 ล้านบาทให้ SMEs โค้งสุดท้ายก่อนสิ้นปีཹ บางรายทยอยคืนคาดพิจารณาเป็น “กองทุนหมุนเวียน” หลังถูกติงไม่สามารถแก้กฎหมายตั้งเป็น “กองทุนถาวร” ได้
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐ วงเงิน 20,000 ล้านบาท ที่ตั้งและเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 นั้นโดยถูกแบ่งออกเป็น...
จิสด้ารุกใช้ AI บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล พร้อมดึงทุกหน่วยร่วมบูรณาการ
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Marine GI Intelligence: Insightful Journey กับมิติใหม่ เพื่อบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเล และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” ขึ้น
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์...
อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ 10 โกลบอลเทรนด์ เปลี่ยนธุรกิจให้ทันโลก
ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาธุรกิจทั่วโลกถูกเขย่าด้วยคำว่า disruptive การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ทยอยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจให้ต้องเร่งปรับตัวตั้งแต่วิธีคิด รวมไปจนถึงวิธีลงทุน ที่วันนี้ต้องเปลี่ยนจากคำว่า “คู่แข่ง” มาเป็น “พันธมิตรธุรกิจ” ใช้ความถนัดและจุดแข็งของแต่ละองค์กรมาผสมผสานและพัฒนาให้เกิดธุรกิจใหม่ขึ้นมา เมื่อเร็ว ๆ นี้”ประชาชาติธุรกิจ” ได้จัดงานสัมมนา “เชียงใหม่ 2019” Smart Economy Smart City ก้าวใหม่สู่อนาคตที่มั่นคง
นายอรรถพล...
สรท. เผยส่งออกปีนี้โตร้อยละ 8 – คาดปี 62 ชะลอร้อยละ 5
ภาพรวมสถานการณ์การส่งออกไทยยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าเป็นหลัก โดยปีนี้ขยายตัวร้อยละ 8 ขณะที่ปี 62 คาดการณ์การส่งออกจะชะลอตัวร้อยละ 6 โดย สรท. แนะไทยควรหันมาส่งเสริมการค้าในอาเซียนแทน
น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าวร่วมกับ นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน สรท. นายสุวัฒน์ อัศวทองกุล ประธานสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร...
อุตสาหกรรมพลาสติกที่เฟื่องฟูของไทย มีบทบาทหลักในภาคการส่งออกต่าง ๆ ของประเทศ และประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้คิดค้นนวัตกรรมจำนวนมาก
เป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ นับตั้งแต่มีการบูรณาการเต็มรูปแบบของธุรกิจผลิตปิโตรเคมีในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในเรื่องการจัดหาวัตถุดิบต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์และการแปรรูปที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มีโรงงานพลาสติกจำนวน 5,000 แห่งในประเทศไทย ประกอบด้วยโรงงานแปรรูปเม็ดพลาสติก โรงงานขึ้นรูปพลาสติก ผู้ผลิตเครื่องจักรและแม่พิมพ์ โรงงานหลอมเม็ดพลาสติก และผู้ผลิตปิโตรเคมี โดยร้อยละ 60 ของผลผลิตที่ได้มาจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีการจ้างแรงงานน้อยกว่า 30 คน
ส่วนอีกร้อยละ 40 ที่เหลือ บริษัทขนาดใหญ่ที่มีระบบการผลิตระดับโลกและการลงทุนจากต่างชาติจำนวนมาก...
การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรม ของประเทศ
ในการพัฒนาอุตสาหกรรม
ของประเทศนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้องค์ความรู้ในหลายๆ
เพื่อวิจัยพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้มีคุณภาพที่สามารถส่งออกไปสร้างมูลค่า
และแย่งส่วนแบ่งตลาดจากประเทศอื่นๆ ในตลาดโลกได้ ซึ่งปัญหาของประเทศไทยนั้นคือ
เป็นการผลิตที่เน้นในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ที่หากอุตสาหกรรม การผลิตของประเทศไม่พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
จะมีผลให้ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมีโอกาสย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นได้ ซึ่งองค์ความรู้ที่ต้องส่งเสริมเพื่อให้อุตสาหกรรมมีคุณภาพสูงขึ้นนั้น
ประกอบด้วยหลายแขนง ได้แก่ ความรู้และความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ไทยเรายังถือว่ายังล้าหลังประเทศอื่นๆ
อยู่มากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอย่าง ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงค์โปร์ และมาเลเซีย
ที่ถือว่าขีดความสามารถของประเทศไทยยังไม่สามารถที่จะตามทันได้ ควรอย่างยิ่งที่ภาครัฐและภาคการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาศาสตร์เหล่านี้อย่างจริงจัง
เนื่องด้วยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม ของประเทศ และอีกหนึ่งเรื่องที่ควรจะมีการพัฒนาองค์ความรู้ก็คือ
การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรม ที่ถือว่าประเทศยังด้อยในข้อนี้ เนื่องจากการพัฒนานั้นต้องอาศัยองค์ประกอบในหลายๆ
ด้านไม่ว่าจะเป็นเงินทุน การพัฒนาบุคลากร โครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆ ที่ยังไม่มีการให้ความสำคัญและการสนับสนุนเรื่องนี้เท่าที่ควร
ซึ่งถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ควรให้ความสำคัญ เพราะหากรอช้าและไม่เร่งรีบแล้วล่ะก็
จะทำให้ประเทศล้าหลัง และขาดองค์ความรู้เพื่อต่อยอดอุตสาหกรรม...
10 อุตสาหกรรม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย
ตอนนี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยถือว่าไม่ดีนัก
ที่ภาครัฐบาลอาจจะต้องใช้มาตรการในหลายๆ
เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถกระเตื้องขึ้นมา
เพื่อเป็นการช่วยเหลือทั้งฝั่งของผู้ประกอบการและภาคประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
ซึ่งในปีนี้รัฐบาลมีแผนในการช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรม 10 ประเภท โดย 5
ประเภทเป็นการต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิม
และเป็นการเพิ่มเติมอีก 5 อุตสาหกรรม
ในอนาคต ซึ่ง 5 ประเภทแรกที่มีการต่อยอดมาจากเดิมนั้น ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูอาหาร
ซึ่งในส่วนของการท่องเที่ยวนั้นมีความน่าสนใจมาก
เนื่องจากความนิยมของชาวต่างชาติในการเข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนั้นประเทศไทยนั้นมีมากขึ้น
เกิดเป็นรายได้ให้กับกลุ่มการแพทย์และกลุ่มโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีแนวโน้มของนักท่องเที่ยวประเภทนี้มากขึ้นอีกด้วย
ทำให้เป็นอุตสาหกรรม ประเภทที่ควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุน
และควรทำการประชาสัมพันธ์ออกไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับ อีก 5 ประเภท
ที่จะได้รับการเติมเต็มส่วนเพิ่มในอนาคตเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนั้น
ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม
การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงคุณภาพและเคมีชีวภาพ การแพทย์ครบวงจร...
ภาคอุตสาหกรรม กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญในตอนนี้
ที่แน่นอนว่าความก้าวหน้าและการขยายตัวอย่างรวดเร็วของโรงงานอุตสาหกรรม นั้น
ย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยสาเหตุหลายๆ อย่าง ที่จะเห็นได้ชัดเจนว่าเมื่อมีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ในพื้นที่ใดก็ตามตอนนี้ต้องมีการสอบถามความคิดเห็นและผ่านการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนในพื้นที่ก่อนทั้งสิ้น
เพราะอะไรนั้น อาจจะเป็นเพราะเนื่องจากปัญหาหรือเหตุการณ์ที่เคยประสบพบเจอมาซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากโรงงานที่ไม่มีกระบวนการจัดการกระบวนการผลิตที่ดีทำให้มีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในพื้นที่ที่โรงงานนั้นๆ
ตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของการปล่อยควัน ความร้อน สารเคมี ฝุ่นละออง
เชื้อแบคทีเรีย หรือแม้กระทั่งมลพิษทางเสียงที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลกระทบกับสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
อีกทั้งทำให้กระทบกับการประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมของประชาชนอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ทำให้ภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ในปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต
เพื่อลดมลพิษในด้านต่างๆ ให้ได้มากที่สุด
เพราะนอกจากจะทำให้ประชาชนยอมรับให้โรงงานนั้นๆ สามารถตั้งใกล้กับที่อยู่อาศัยได้แล้ว
โรงงานเหล่านี้ยังมองเห็นการประกอบธุรกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืนจากการให้ความสำคัญของการอนุรักษ์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดยมีการกำหนดมาตรฐานของวัตถุดิบที่ใช้ในโรงงาน
และการกำหนดมาตรฐานของมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และทางเสียง
ที่ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งต้องไม่มีผลกระทบกับชีวิต ทรัพย์สิน
และการใช้ชีวิตประจำวันโดยรอบ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรม สามารถประกอบกิจการได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืนไปพร้อมกับการอยู่ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีความสุข
อีกทั้งยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ทุกชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ต่อไปอีกด้วย
ทุ่ม 900 ล้าน อัพเกรดระบบเก็บเงินโทลล์เวย์
ดอนเมืองโทลล์เวย์ ทุ่ม 900 ล้าน กเครื่องครั้งใหญ่ระบบเก็บค่าผ่านทางในรอบ 30 ปี เชื่อมบัตร M-PASS และ Easy Pass โครงข่ายทางด่วนและวงแหวนรอบนอก เพิ่มกล้องวงจรปิด AI 300 ตัว ป้ายอัจฉริยะรับไทยแลนด์ 4.0
นายศักดิ์ดา พรรณไวย รองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจและการเงิน บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด...
ยกระดับการศึกษาไทย! ม.กรุงเทพ-กองทุน ดร.สุพงษ์ จัด Young AI Robotics ปั้นเยาวชนป้อนโลก AI
ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับ disruption หรือการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วแบบสิ้นเชิง เทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนโลกดิจิทัล หนึ่งในนั้นคือ AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกนำมาผสมผสานกับหุ่นยนต์ จนกลายเป็นหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Robotics เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยการสนับสนุนของกองทุน ดร.สุพงษ์ ลิ้มธนากุล จึงจัดโครงการ Young AI Robotics ขึ้น ด้วยการเชิญอาจารย์และนักเรียนจาก 10 โรงเรียนต้นแบบ ได้แก่ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา, เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี, นวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา...