หน้าแรก แท็ก อุตสาหกรรม

แท็ก: อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าอุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์ในประเทศไทยนั้นใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลก ซึ่งมีกำลังการผลิตต่อปีมากกว่าประเทศเบลเยี่ยม อังกฤษ อิตาลี่ เชค และตุรกี เสียด้วยซ้ำ โดยสามารถผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ได้มากกว่า 1.5 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์ในประเทศไทยนั้นเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ให้กับค่ายจากประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นหลัก อีกทั้งค่ายชื่อดังจากยุโรปก็นิยมใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเช่นกัน เนื่องจากการริเริ่มเปิดประเทศในการเป็นฐานการผลิตโดยเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี ทำให้ภาคการผลิตของประเทศมีความมั่นคงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนโดยนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งการเปิดเสรีด้านของข้อตกลงทางด้านการส่งออกที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่ไม่ว่าจะเป็นค่ายดังอย่าง BMW...

“ซี.พี.แลนด์” 6 ปีที่รอคอย เปิดหน้าดิน 3,000 ไร่ ฮับ EEC

ที่ดินผืนใหญ่กว่า 3,000 ไร่ ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนาและ ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ของ “บมจ.ซี.พี.แลนด์” บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใต้ปีกเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ที่ใช้เวลา 30 ปี ซื้อเก็บสะสมจนกลายเป็นผืนเดียวกัน ปัจจุบันตั้งอยู่ในทำเลที่มีจุดเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมล้อมรอบ ทั้งถนนสายหลัก 4-6 ช่องจราจร ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 35 กม. สนามบินสุวรรณภูมิ...

“จอร์จ โซรอส” เทขายหุ้น “เฟซบุ๊ก-เน็ตฟลิกซ์-โกลด์แมน” ก่อนพากันราคาร่วง เซฟเงินเกือบ 600 ล้านบ.

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายจอร์จ โซรอส นักลงทุนระดับอภิมหาเศรษฐีของโลก ได้ขายหุ้นที่มีอยู่ในเฟซบุ๊ก เน็ตฟลิกซ์ และโกลด์แมนแซคส์ ก่อนหน้าที่ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้จะร่วงลงมาอย่างหนักในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้โซรอสสามารถรักษาเงินก้อนใหญ่ 17.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 585 ล้านบาท เอาไว้ได้ ข่าวระบุว่า โซรอส ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในเฟซบุ๊กไป เมื่อไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา และยังขายหุ้นบางส่วนในเน็ตฟลิกซ์ไป รวมทั้งในโกลแมนแซคส์ ซึ่งทั้งหุ้นของเฟซบุีกและโกลด์แมนแซคส์ ต่างตกต่ำลงที่สุดในไตรมาส...

18 บริษัท ซื้อซองท่าเรือมาบตาพุด เฟส3 “กัลฟ์ PTTGC อิตาเลียนไทย” ร่วมแจมตามคาด

กนอ. เผยโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 (ช่วงที่ 1) ปิดขายซองวานนี้ (21 พ.ย.61 ) เอกชนไทย-เทศ 18 บริษัทในกลุ่มธุรกิจพลังงาน โรงไฟฟ้า – ปิโตรเคมี และอสังหาฯ ลงสนามแข่งชิงพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในอีอีซี กนอ.เตรียมเปิดชี้แจง ทำความเข้าใจก่อนพาคณะเอกชนทัวร์ดูพื้นที่ก่อสร้างจริงวันที่ 27 พ.ย. นี้ นางสาวสมจิณณ์ พิลึก...

ประมูล EEC 6.5แสนล้านฝุ่นตลบ ‘ซีพี-BTS-CPN’ สู้ทุกโปรเจ็กต์

5 โปรเจ็กต์อีอีซี 6.5 แสนล้านคึก บิ๊กไทย จีน ญี่ปุ่น ยุโรป 32 รายรุมชิงท่าเรือแหลมฉบัง “ซี.พี.-ปตท.” ไม่ตกขบวน มาบตาพุดมี 10 รายร่วม “เซ็นทรัล-แกรนด์แอสเสท-บีทีเอส-ซิโนไทย-ITD-บางกอกแอร์เวย์ส” แจมเมืองการบินอู่ตะเภา ต่อยอดรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เคาะซองเทคนิค 11 ธ.ค.นี้  ผู้รับเหมาจับตาการเปิดประมูลในอีอีซี แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้าง เปิดเผย...

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจทำเงินเข้าประเทศไทย

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ยังสามารถทำเงินเข้าประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศจะยังไม่กระเตื้องขึ้นก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยยังเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความสนใจมาเยือน และติดอยู่ 1 ใน 10 อันดับที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังมีการรณรงค์บวกกระแสนิยมที่กระตุ้นให้คนไทยหันมาท่องเที่ยวในประเทศมากยิ่งขึ้น เพราะเหตุนี้เองอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวของประเทศจึงยังเป็นธุรกิจที่เป็นรายได้หลักทำเงินเข้าประเทศได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน รวมทั้งภาคประชาชน ควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อให้สถานที่ท่องเที่ยวเหล่านั้นเป็นสถานที่ที่สวยงามเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศได้เข้ามาเยี่ยมชมกัน และอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องหันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากก็คือการเข้ามาของนายทุนเนื่องจากเห็นประโยชน์และช่องทางสร้างรายได้ที่เกิดขึ้น ในระยะหลังจึงจะเห็นได้ว่ามีนายทุนต่างชาติเข้ามากว้านซื้อที่ดินเพื่อลงทุนในอุตสาหกรรม นี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งภาครัฐบาลคงต้องหันมาตรวจสอบและให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ทั้งในด้านการตรวจสอบทั้งทางตรงและทางอ้อมในด้านกฎหมาย ไม่เช่นนั้นแล้วสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามในประเทศไทยอาจจะตกเป็นของนายทุนต่างชาติไปเสียหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก และอีกอย่างที่ควรเฝ้าระวังก็คือความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนรวมทั้งประชาชนเอง...

ภาคอุตสาหกรรม กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ปัญหาสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญในตอนนี้ ที่แน่นอนว่าความก้าวหน้าและการขยายตัวอย่างรวดเร็วของโรงงานอุตสาหกรรม นั้น ย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยสาเหตุหลายๆ อย่าง ที่จะเห็นได้ชัดเจนว่าเมื่อมีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ในพื้นที่ใดก็ตามตอนนี้ต้องมีการสอบถามความคิดเห็นและผ่านการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนในพื้นที่ก่อนทั้งสิ้น เพราะอะไรนั้น อาจจะเป็นเพราะเนื่องจากปัญหาหรือเหตุการณ์ที่เคยประสบพบเจอมาซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากโรงงานที่ไม่มีกระบวนการจัดการกระบวนการผลิตที่ดีทำให้มีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในพื้นที่ที่โรงงานนั้นๆ ตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของการปล่อยควัน ความร้อน สารเคมี ฝุ่นละออง เชื้อแบคทีเรีย หรือแม้กระทั่งมลพิษทางเสียงที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลกระทบกับสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งทำให้กระทบกับการประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมของประชาชนอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ทำให้ภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ในปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต เพื่อลดมลพิษในด้านต่างๆ ให้ได้มากที่สุด เพราะนอกจากจะทำให้ประชาชนยอมรับให้โรงงานนั้นๆ สามารถตั้งใกล้กับที่อยู่อาศัยได้แล้ว...

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ รองรับอุตสาหกรรม แรงงานในอนาคต

ปัจจุบันนวัตกรรมของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม มีความก้าวหน้าและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทดแทนแรงงานคน ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มของการนำเครื่องจักรมาใช้ในโรงงานผลิต เนื่องจากมีความแม่นยำและสามารถควบคุมคุณภาพได้มากกว่าแรงงานคน ทำให้แนวโน้มในอนาคตนั้น อีกทั้งแรงงานคนนั้นมีแนวโน้มที่จะมีต้นทุนสูงขึ้น เห็นได้จากที่หลายประเทศ เริ่มจะหันมาว่าจ้างแรงงานจากประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นกำลังในการผลิตเนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า จึงหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาและคิดค้นการใช้เครื่องจักรรวมทั้งหุ่นยนต์เพื่อเป็นกำลังหลักในการผลิตมายิ่งขึ้น ส่วนแรงงานคนที่กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม นั้นกลับเป็นแรงงานที่มีทักษะและฝีมือที่ตอนนี้เรียกได้ว่าค่อนข้างขาดแคลนและหาได้ยากอีกทั้งการว่าจ้างยังมีต้นทุนที่สูงอีกด้วย นอกจากเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว หุ่นยนต์แทนมนุษย์ก็เป็นเทรนที่หลายประเทศกำลังให้ความสำคัญ และมุ่งวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการคิดค้นเทคโนโลยีการเคลื่อนไหวที่ทำซ้ำไปมาของมนุษย์ให้สอดคล้องกับภาคการผลิต ที่ถือว่าตอบโจทย์ของภาคอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในโรงงานหรือภาคการผลิตเท่านั้นที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์มาใช้แทนมนุษย์ แต่องค์กรเอกชนหลายบริษัทในหลายประเทศก็มีความพยายามในการพัฒนาผลิตหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองในการให้บริการขายสินค้า ต้อนรับ หรือหุ่นยนต์ที่คอยดูแลบ้านเรือน ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นหุ่นยนต์อยู่รอบตัวเราทั้งเบื้องหลังของอุตสาหกรรม...
- Advertisement -

EDITOR PICKS